ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ?
หลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์มุ่งสร้างวิศวกรคอมพิวเตอร์ ที่สามารถปฏิบัติงานในภาคธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิผล หลักสูตรเล็งเห็นความสำคัญของคณิตศาสตร์และทฤษฎีด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่สำคัญของการแก้ปัญหาโดยใช้คอมพิวเตอร์ จึงได้จัดให้เรียนรายวิชาในกลุ่มนี้อย่างเพียงพอ ได้แก่ การเขียนโปรแกรม โครงสร้างข้อมูลและอัลกอริทึม การพัฒนาซอฟต์แวร์ สถิติและความน่าจะเป็น พีชคณิตเชิงเส้น โครงสร้างไม่ต่อเนื่อง (Discrete Structure) ทฤษฎีการคำนวณ ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญของการคิดเชิงคอมพิวเตอร์ และการเรียนวิทยาการคอมพิวเตอร์ขั้นสูง เช่น Data Science ปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรืออื่นๆ ต่อไป นอกจากนั้นหลักสูตรยังได้จัดให้เรียนทฤษฎีด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ได้แก่ พื้นฐานระบบดิจิตอล องค์ประกอบคอมพิวเตอร์ สถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ ระบบปฏิบัติการ และเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจในการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ และสามารถปฏิบัติงานในสายงานต่างๆ ได้ หลักสูตรนี้ออกแบบโดยมุ่งเน้นการฝึกปฏิบัติเพื่อให้เกิดทักษะความชำนาญในการปฏิบัติงาน โดยกำหนดให้มีวิชาที่ฝึกปฏิบัติมากถึง 14 รายวิชาจาก 21 รายวิชาบังคับ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและมั่นใจในการปฏิบัติงาน โดยให้นักศึกษาเลือกศึกษาตามความถนัดของตนเองใน 3 แขนง ได้แก่ แขนงฮาร์ดแวร์และสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ แขนงการพัฒนาซอฟต์แวร์ และแขนงโครงสร้างพื้นฐานของระบบและระบบเครือข่าย นอกจากนั้นยังให้นักศึกษาได้เลือกรายวิชาเฉพาะทางในชั้นปีสุดท้ายในสาขาเฉพาะทาง เช่น สาขาข้อมูลขนาดใหญ่และธุรกิจอัจฉริยะ สาขาการประมวลผลมัลติมีเดีย สาขาเครื่องจักรอัจฉริยะ สาขาความปลอดภัยไซเบอร์ เป็นต้น เพื่อให้นักศึกษามีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านมากขึ้น
ทำไมต้องเรียน วศ.บ. วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ที่ สจล. ?
เนื่องจากความรู้หรือทักษะที่บัณฑิตจะได้เมื่อสำเร็จการศึกษาจากที่นี่ • มีความรู้ทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ที่เป็นพื้นฐานของวิศวกรรมคอมพิวเตอร์อย่างเพียงพอ • มีทักษะในการวิเคราะห์และออกแบบระบบงานวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ทั้งด้านซอฟต์แวร์และฮาร์ดแวร์ โดยใช้ความรู้ทางทฤษฎีและเทคโนโลยีใหม่ๆ • สามารถทำงานด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ทั้งบุคคล และเป็นสมาชิกของทีมงานได้เป็นอย่างดี • พัฒนาตนเองให้มีความรู้และทักษะที่ทันสมัยอยู่เสมอ มีความเชื่อมั่นในการเรียนรู้ตลอดชีวิต • มีทักษะในการสื่อสาร การนำเสนอ และการทำรายงานที่เหมาะกับผู้ฟัง • มีความรับผิดชอบต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม ดัวยความตระหนักในจริยธรรมทางวิชาชีพ
โอกาสในการหางาน
“อาชีพ
- วิศวกรคอมพิวเตอร์
- นักวิชาการคอมพิวเตอร์
- ผู้พัฒนาซอฟต์แวร์/วิศวกรซอฟต์แวร์
- วิศวกรวิเคราะห์/ออกแบบ/พัฒนาระบบสารสนเทศ
- วิศวกรเครือข่าย
- วิศวกรระบบฝังตัว
- วิศวกรควบคุมดูแลระบบคอมพิวเตอร์
- วิศวกรระบบความปลอดภัยเทคโนโลยีสารสนเทศ
ในปัจจุบันนักศึกษาที่จบหลักสูตรนี้จะได้รับเงินเดือนโดยเฉลี่ยประมาณ 25,000-35,000 บาทต่อเดือน”
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
การติดต่อ
คณะวิศวกรรมศาสตร์
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- 02-329-8321
- telecom@kmitl.ac.th
- elec.kmitl.info@gmail.com
- maneerut.su@kmitl.ac.th
- siie@kmitl.ac.th
- sompob.po@kmitl.ac.th
- taweepol.su@kmitl.ac.th
- pholchai.ch@kmitl.ac.th
- ravipat.la@kmitl.ac.th
- wiboon.pr@kmitl.ac.th
- https://engineer.kmitl.ac.th/