ทำไมต้องเรียน วท.บ. การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด ?
หลักสูตรการจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด เป็นหลักสูตรที่เน้นการจัดการเรียนการสอนโดยบูรณาการศาสตร์ด้านต่างๆ ทั้งด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และอุตสาหกรรมอาหาร เพื่อให้ผู้เรียนได้มีทักษะครบถ้วนตั้งแต่ระบบการจัดการฟาร์มแบบครบวงจร ตั้งแต่การวางผังฟาร์ม การผลิต การจัดการหลังการเก็บเกี่ยว และการตลาด โดยการนำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมเข้ามาใช้ในการจัดการให้เกิดความแม่นยำในการจัดการฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มปริมาณและคุณภาพ (มาตรฐานและความปลอดภัย) ของผลผลิตตามความต้องการของผู้บริโภค การนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในด้านการทำฟาร์มต่าง ๆ เช่น ฟาร์มพืช สัตว์ และประมง เพื่อให้เกิดการควบคุมและการดำเนินงานที่แม่นยำ เช่น การใช้ระบบสารสนเทศมาวางแผนการผลิตให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ การใช้เซ็นเซอร์ต่าง ๆ ในระบบการผลิตพืช ระบบการดูแลสุขภาพสัตว์ และประมง เน้นทักษะและกระบวนการคิดของผู้เรียนให้รู้จักวางแผนการจัดการ วางกรอบการดำเนินงาน และหาแนวทางแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม เรียนรู้การนำเทคโนโลยีต่างๆ เข้ามาช่วยในการบริหารจัดการฟาร์ม เช่นเทคโนโลยีเซนเซอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และการนำข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจ ประเมิน คาดการณ์ในการบริหารจัดการฟาร์มได้อย่างถูกต้อง เน้นสร้างทักษะเพื่อนำไปใช้จริง สู่ความเป็นมืออาชีพผ่านรูปแบบการจัดการเรียนแบบ Problem Based Learning, Project Based Learning, Situation Based Learning การเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพผ่านรูปแบบสหกิจศึกษา (Cooperative Education) ในภาครัฐและภาคเอกชนทั้งในระดับชาติและนานาชาติ และการพัฒนาผู้เรียนผ่านเครือข่ายความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาชั้นนำในต่างประเทศ เช่น Kyoto University, Kagoshima University ประเทศญี่ปุ่น National Pingtung University ประเทศใต้หวัน Wageningen University ประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งจะช่วยพัฒนาทักษะผู้เรียนทางด้านภาษาและความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งจะช่วยเสริมทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ให้ก้าวออกไปเป็นเจ้าของฟาร์ม ผู้จัดการฟาร์มเอกชน ผู้ประกอบการ นักวิชาการเกษตรและนักส่งเสริมการเกษตรอย่างมีคุณภาพเพื่อเป็นกำลังในการพัฒนาประเทศต่อไป
ทำไมต้องเรียน วท.บ. การจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาด ที่ สจล. ?
หลักสูตรการจัดการฟาร์มอย่างชาญฉลาดของคณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มีจุดเด่นดังนี้ 1. จัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Problem Based Learning, Project Based Learning, Situation Based Learning 2. คณาจารย์ผู้สอนประกอบอาจารย์จากภายในสถาบัน (คณะเทคโนโลยีการเกษตรคณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะอุตสาหกรรมอาหาร ฯลฯ) และผู้เชี่ยวชาญจากภาครัฐและเอกชน 3. มีการจัดการเรียนการสอนพื้นฐานวิชาแกนด้านการจัดการฟาร์ม ที่รวมเอา เทคโนโลยีเซนเซอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ เทคโนโลยีภูมิสารสนเทศ และการนำข้อมูลขนาดใหญ่มาใช้ในการจัดการฟาร์ม 4. ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานด้านการจัดการฟาร์มทั้งการจัดการฟาร์มเพื่อการปลูกพืช ปศุสัตว์ และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ 5. หลักสูตรมีเครือข่ายภาครัฐ เอกชนทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อช่วยพัฒนาทักษะของผู้เรียน 6. ผู้เรียนมีทักษะในการจัดการฟาร์มตลอดห่วงโซ่คุณค่า “ผลิตได้มาตรฐาน ใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และสร้างตลาดสินค้าเกษตรได้”
โอกาสในการหางาน
ผู้จัดการฟาร์มเกษตร
ผู้ประกอบการสินค้าเกษตร
เกษตรกรรุ่นใหม่
อาชีพส่วนตัว
นักวิชาการเกษตร
นักส่งเสริมการเกษตร
เงินเดือน 15,000-25,000 บาท
ค่าธรรมเนียมการศึกษา
การติดต่อ
คณะเทคโนโลยีการเกษตร
สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- 02 329 8504
- Agri-tech@kmitl.ac.th
- http://www.agri.kmitl.ac.th/AgriTH/