Skip to main content

นายกฯ ญี่ปุ่นเยือน สจล. เยี่ยมชม KOSEN-KMITL

นายกญี่ปุ่น

นายกฯ ญี่ปุ่นเยือน สจล. เยี่ยมชม KOSEN-KMITL

สถาบันบ่มเพาะนักนวัตกรหัวกะทิเทียบชั้นระดับโลก

ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี ญี่ปุ่น–ไทย รับการเติบโตของภาคอุตสาหกรรม

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) ได้รับเกียรติสูงสุดในการต้อนรับ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรีประเทศญี่ปุ่น นายฟูมิโอะ คิชิดะ เข้าเยี่ยมชมสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN - KMITL) เพื่อติดตามการดำเนินงานของสถาบันฯ ที่ก่อตั้งจากการสนับสนุนของรัฐบาลไทยและญี่ปุ่นตามโครงการพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรม เทคโนโลยี และนวัตกรรมเพื่อสนับสนุนการลงทุนและเพิ่มขีดความสามารถภาคอุตสาหกรรมในประเทศไทย ทั้งนี้นายกฯ ญี่ปุ่นได้เยี่ยมชมภายในสถาบันและพูดคุยกับนักศึกษา ซึ่งสร้างความประทับใจอย่างยิ่งว่า นักศึกษาของสถาบันแห่งนี้สามารถพูดภาษาญี่ปุ่นได้อย่างคล่องแคล่ว รวมถึงสามารถจำคำศัพท์เฉพาะทางเทคนิคได้เป็นอย่างดี

โดยมี ศาสตราจารย์พิเศษ ดร.กิตติพงษ์ กิตยารักษ์ นายกสภาสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.โกศล เพ็ชร์สุวรรณ์ อดีตอธิการบดี สจล. รองศาสตราจารย์ ดร.อนุวัฒน์ จางวนิชเลิศ รักษาการแทนอธิการบดี รองศาสตราจารย์ ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการผู้อำนวยการสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง  รองศาสตราจารย์ ดร.สมยศ เกียรติวนิชวิไล คณบดี คณะวิศวกรรมศาสตร์ สจล. และนักศึกษาให้การต้อนรับ

ซึ่งเมื่อปี 2562 ที่ผ่านมารัฐบาลญี่ปุ่นและ สจล. ได้ยกระดับความสัมพันธ์สู่การเป็นพันธมิตรด้านวิชาการ ผ่านการจัดตั้งสถาบันโคเซ็นแห่งสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (KOSEN - KMITL) เพื่อพัฒนากำลังคนด้านวิศวกรรมศาสตร์เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมในประเทศ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมในเขตระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) รวมถึงการขยายการลงทุนรับยุทธศาสตร์ Thailand Plus One เพื่อผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการค้า การผลิตภาคอุตสาหกรรมและการลงทุนของภูมิภาคอาเซียน โดยสถาบัน KOSEN – KMITL มีเป้าหมายในการสร้างวิศวกรนักปฏิบัติ (Practical Engineers) และช่างเทคนิควิศวกรรม (Engineering Technician) เพื่อรองรับการขยายตัวของภาคอุตสาหกรรม โดยจะคัดนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นระดับหัวกะทิ เรียนหลักสูตรอนุปริญญาด้านวิศวกรรมเพื่อเร่งป้อนวิศวกรที่มีคุณภาพทัดเทียมกับนานาชาติสู่ภาคอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตในอนาคต

บทความโดย

kmitl

จำนวนผู้เข้าชม

สำนักงานสื่อสารองค์กร สจล.

Share this page