สจล. จัดกิจกรรม We Grow Together
ตอน "คืนใจให้ด่านช้าง ปลูกต้นกล้าให้แผ่นดิน"
วันที่ 17 ตุลาคม 2565
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดี สจล. ต้อนรับรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล เข้าร่วมชมนิทรรศการ "คืนใจให้ด่านช้าง KMITL L-O-V-E PROJECT"
ณ ศูนย์วิจัยและถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี จัดโดยสำนักงานบริหารกายภาพ คณะ วิทยาลัย และหน่วยงานใน สจล.
โดยมีผู้บริหารระดับจังหวัดเข้าร่วมงานได้แก่
นางสุกันตา ศรีกำพล ปฎิรูปที่ดินจังหวัดสุพรรณบุรี , นายประเสริฐ ม่วงอยู่ ผอ. ศูนย์ป่าไม้สุพรรณบุรี ,ท่านสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ อดีต ผวจ. สุพรรณบุรี และอดีต รมต. กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา และผู้นำชุมชน อาสาสมัครชุมชน ผู้บริหารสจล. อาจารย์ นักศึกษา และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงาน
โดยในวันนี้ทุกคนจะร่วมปลูกต้นไม้รวม 506 ต้น แบ่งเป็น ต้นแก้วเจ้าจอม 6 ต้น และต้นสน 500 ต้น 1 ต้น 1 คน 1 ล้านความหมาย
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี อธิการบดี สจล. กล่าวว่า สจล. มุ่งพัฒนางานวิจัยด้าน BCG : Bio Circular Green Economy ส่งเสริมพลังงานทางเลือก ฟาร์มอัจริยะ การเกษตรที่ทันสมัย สร้างสิ่งแวดล้อมสะอาด อาหารปลอดภัย ลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดอ๊อกไซต์ รวมถึงการแปรรูป พัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร วางแผนการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ เพื่อสร้างความเข้มแข็งยั่งยืนให้อำเภอด่านช้าง ได้เกิดโมเดลต้นแบบในการพัฒนาสินค้าเกษตรที่ประสบความสำเร็จในทุกมิติ และช่วยเหลือชุมชนได้อย่างยั่งยืน
ด้านรองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี นายนพฤทธิ์ ศิริโกศล กล่าวว่า ทางจังหวัดขอขอบคุณทาง สจล. ที่มารุกลุยงานวิจัยสู่การพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน โดยทางจังหวัดได้มอบท่านนายอำเภอด่านช้าง และทีมองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยประสานงานเต็มที่ โดยมุ่งหวังให้เกิดการเปลี่ยนแปลง เกิดกระบวนการผลิตที่ทันสมัย สร้างรายได้ที่ยั่งยืน และคุณภาพชีวิตที่ดีให้ชาวสุพรรณบุรีได้
สำหรับศูนย์วิจัยและถ่ายทอดวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สจล. ตั้งอยู่ในเขตตำบลองค์พระ อำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรีนี้ ได้รับมอบจากกรมป่าไม้ และสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นพื้นที่รองรับการขยายตัวทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และการวิจัย เพื่อการถ่ายทอดวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกด้านที่สถาบันเชี่ยวชาญ สู่ภาคประชาชน เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดใกล้เคียง มีศูนย์บริการด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้ โดยไม่ต้องเดินทางเข้า กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นพันธกิจสำคัญ และเพื่อนำความเจริญสู่ชนบทตามนโยบายของรัฐบาล
เพื่อนำสถาบันไปสู่ The Word Master of Innovation มุ่งเน้นการนำองค์ความรู้และนวัตกรรมของสถาบันสู่การใช้ประโยชน์จริงในสังคม ภายใต้นโยบาย 5 Global Index หนึ่งในนั้น คือ เรื่อง Global Infrastructure เพื่อสร้างพื้นที่เรียนรู้ และผลักดันการนำนโยบายมาสู่การปฏิบัติอย่างรวดเร็ว โดย Quick Win ข้อที่ 5 เพิ่มพื้นที่สีเขียว รวมทั้ง Index Global Learning Quick Win #19-20 ศูนย์การเรียนรู้ ชุมพร ฯ - ด่านช้าง ดินแดนแห่งการเรียนรู้ เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์และพัฒนาพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ และเพื่อเป็นการพัฒนาศูนย์ดาราศาสตร์ ในการต่อยอดองค์ความรู้ด้านดาราศาสตร์ รวมทั้งเป็นสถานที่ในการศึกษาวิจัยด้วยการบูรณาการด้านวิชาการตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้
ติดตามความเคลื่อนไหวของกิจกรรมได้ที่ Facebook Page : KMITL และ Website : www.kmitl.ac.th
#KMITL2022 #ลุยไปด้วยกัน #FightTogether #WeGrowTogether #ด่านช้าง #สุพรรณบุรี