APEC Media Focus Group ครั้งที่ 8
“APEC and Food security: Sustainability beyond global uncertainties”
รศ. ดร.คมสัน มาลีสี รักษาการแทนอธิการบดี สจล.
-
สจล.มุ่งผลักดันด้านความมั่นคงทางอาหาร เรามีคณะเทคโนโลยีการเกษตร คณะอุตสาหกรรมอาหาร
คณะวิศวกรรมศาสตร์ รวมถึงคณะบริหารธุรกิจ ที่จะร่วมกันสร้างนวัตกรรม ผลักดันเป็น start up เพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร เช่น สกัดสารที่เป็นประโยชน์ทางการแพทย์สำหรับผู้สูงวัย ซึ่งจะทำให้ไทยมีความเข้มแข็งในเวทีโลก
รศ. ดร.นภัสรพี เหลืองสกุล คณบดีคณะอุตสาหกรรมอาหาร
- ความมั่นคงด้านอาหารในระดับประเทศ เรามีมากกว่าประเทศอื่น แต่เราต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐในการพัฒนาเทคโนโลยีต่อ เราควรจะมี excellent center ด้านอาหารเฉพาะทาง ที่ทำทั้งงานวิจัยและช่วยเหลือผู้ประกอบการไปสู่ commercial และ set up ไปจนถึงระดับ อย. กระทั่งส่งออกสู่ต่างประเทศ เป็น one stop service ที่ดูแลเรื่องนี้อย่างจริงจัง
รศ. ดร.ร่วมจิต นกเขา อาจารย์ประจำภาควิชาเทคโนโลยีการเกษตร สจล.วิทยาเขตชุมพรเขตรอุดมศักดิ์
-
งานวิจัยพันธุ์ข้าวไร่ ที่เราคัดเลือกได้ 4 สายพันธุ์ เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรเขตพื้นที่ภาคใต้ปลูกแซมในสวนยาง
สวนปาล์ม หรือสวนมะพร้าวนั้น ปลูกได้ทุกพื้นที่ ปลูกได้ทั้งปี และทนต่อทุกสภาพภูมิอากาศ ช่วยให้มีข้าวบริโภคในครัวเรือน ตอบโจทย์เรื่องความมั่นคงด้านอาหารได้เป็นอย่างดี
ธัญสินี รัตนพล นักศึกษา ชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประกอบอาหารและการจัดการการบริการอาหาร
(หลักสูตรนานาชาติ) คณะอุตสาหกรรมอาหาร สจล.
-
Culinary Science and Foodservice Management เป็นสาขาที่คนควรให้ความสนใจมากขึ้น เพราะการทำอาหารเราต้องเข้าใจวัตถุดิบที่เราใช้ในเชิงวิทยาศาสตร์และการจัดการอาหารด้วย ยุคนี้การทำอาหารได้เพียงอย่างเดียวอนาคตอาจไปได้ไม่ไกล หากมีความรู้ที่ลึกกว่านี้เราจะไม่ใช่แค่ Chef แต่เราจะเป็น Food scientists ได้
นายพิชญะ พิชัยรณรงค์สงคราม นศ.ชั้นปีที่ 4 คณะแพทยศาสตร์ สจล.
- อาหารเกี่ยวข้องกับสุขภาวะของคน การแพทย์กับอาหารเป็นเรื่องคู่กัน ปัจจุบันมีงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับโมเลกุลเล็กๆ ในอาหารว่าอะไรให้ประโยชน์อะไรมีโทษ เราสามารถนำความรู้พวกนี้มาบูรณาการและนำความรู้ไปรักษาคนไข้ได้แน่นอน